Categories
News

กระชายมหิดล: การใช้สมุนไพรให้ถูกโรค

กระชายมหิดล: การใช้สมุนไพรให้ถูกโรค สำคัญเลยควรเริ่มจากความถูกต้องในการวินิจฉัยโรค เพื่อที่จะเลือกใช้พืชสมุนไพรให้ตรงกับโรค ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ป่วยมีอาการถ่ายไม่ออก (ท้องผูก) ต้องใช้พืชสมุนไพรที่ให้ผลในการระบายท้อง หากไปใช้สมุนไพรที่มีรสฝาดก็จะทำให้อาการถ่ายไม่ออก (ท้องผูก) หนักยิ่งขึ้น

การใช้สมุนไพรให้ถูกต้อง

เนื่องจากในแต่ละท้องถิ่นจะเรียกชื่อ สมุนไพรชนิดเดียวกันแต่เรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไป (มีหลายชื่อ) จึงควรให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของพืชสมุนไพรชนิดนั้นๆ และลักษณะรูปร่างทางกายภาพ (ภายนอก) ของพืชสมุนไพรมากกว่าชื่อที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น

ยกตัวอย่างเช่น กระชาย หรือ ขิงจีน ประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อสามัญอื่นอีก คือ

กะแอน, ละแอน (อีสาน, เหนือ)
กะซาย, ขิงซาย (อีสาน)
จี๊ปู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน)
ซีพู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน)
เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)

การใช้สมุนไพรให้ถูกส่วน

ต้นสมุนไพรแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น ราก ดอก ใบ เมล็ด ผล ฯลฯ ซึ่งแต่ละส่วนของสมุนไพรจะออกฤทธิ์ในทางการรักษาโรคไม่เท่ากัน และไม่เหมือนกัน ดังนั้นการนำสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประสิทธิผลเต็มที่จึงต้องใช้ให้ถูกส่วนด้วยเช่นกัน

การใช้สมุนไพรให้ถูกขนาด

หมายความถึง ปริมาณสมุนไพรที่จะต้องนำมาใช้รักษาอาการของโรคแต่ละโรคจะใช้ปริมาณสมุนไพรที่ไม่เท่ากัน หากใช้สมุนไพรในปริมาณที่น้อยเกินไปจะเป็นการใช้ยาไม่ถึงขนาด การรักษาก็จะไม่เห็นผล ในทางกลับกันหากใช้สมุนไพรในปริมาณมากเกินไปอาจจะเป็นโทษกับสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยได้ และยังเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเงินและเวลาอีกด้วย

หลักในการพิจารณาและข้อแนะนำก่อนการพิจารณาเลือกใช้ หรือขณะใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร

– ควรศึกษาว่าผลิตภัณฑ์นั้นประกอบด้วยสมุนไพรชนิดใดหรือมีส่วนประกอบของสมุนไพรใด หากมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นจะได้ทราบว่าเกิดจากสมุนไพรชนิดใด และเก็บข้อมูลในการระวังการใช้
– หมั่นสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้สมุนไพรหากเกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการใช้สมุนไพร ควรหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
– หญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร และเด็กไม่ควรที่จะใช้สมุนไพรถ้าไม่จำเป็น โดยเฉพาะสมุนไพรที่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัย เนื่องจากสารบางชนิดในสมุนไพรสามารถผ่านรก ขับออกทางน้ำนม หรือมีผลต่อการเจริญเติบโตได้